123

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 3




บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วัน พุธ  ที่ 25  เดือน มกราคม ปี 2559 เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แขนขาด้วนแต่กำเนิดผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก


ความรู้ที่ได้รับ



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(
Children with Speech and Language Disorders)


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
3. ความบกพร่องของเสียงพูด
(
Voice Disorders)


ความบกพร่องทางภาษา 
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia
หรือ aphasia


5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)

โรคลมชัก (Epilepsy)
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Grand Mal




ซี.พี. (Cerebral Palsy) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Cerebral Palsy


1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
(
athetoid , ataxia)
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)


กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง


โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ



โปลิโอ (Poliomyelitis)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Poliomyelitis


โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคกระดูกอ่อนในเด็ก


โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคศีรษะโต



โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์



แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)

การนำไปประยุกต์ใช้
- จากความรู้ที่ได้รับมานี้ช่วยให้ได้เข้าใจอาการต่างของแต่ละโรค และสามารถให้การช่วยเหลือเด็กในเบื้องต้นได้และการสังเกตเด็กที่มีอาการต่างเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็ก


ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- ตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา 
- มีความสุขในการเรียน

การประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน 

การประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และตั้งใจสอนมาก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วัน พุธ  ที่ 18  เดือน มกราคม ปี 2559 เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก


ความรู้ที่ได้รับ


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
เด็กฉลาด                    
ตอบคำถาม
สนใจเรื่องที่ครูสอน
ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน 
ความจำดี
เรียนรู้ง่ายและเร็ว 
เป็นผู้ฟังที่ดี 

พอใจในผลงานของตน
Gifted 
ตั้งคำถาม 
เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
เบื่อง่าย  
ชอบเล่า 
ติเตียนผลงานของตน 
ตัวอย่างเด็กGifted 

Elaina smith



ด.ช.ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน 

ตัวอย่างกลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

 
เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน



เด็กที่บกพร่องทางการเห็น





เรียนครั้งที่ 2 ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


ท้ายคาบเรียนพวกเราทุกคนอวยพรให้คุณครูและรับการอยพรจากอาจารย์เนื่องในวันครูแห่งชาติ




การนำไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนในวันนี้ทำให้เข้าใจกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น ทำให้สามารถรักและดูแลเด็กๆได้อย่างถูกวิธี

ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา
- ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก- สนุกและมีความสุขในเวลาเรียน


การประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน


การประเมินอาจารย์
- วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
- การสอนของอาจารย์ในวันนี้สนุกมากๆ ไม่น่าเบื่อ อาจารย์มีการยกตัวอย่างประกอบการสอนด้วยจึงทำให้เข้าใจอาการต่างของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น






ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 1



บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วัน พุธ  ที่ 11  เดือน มกราคม ปี 2559 เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.



ความรู้ที่ได้รับ

1.วันนี้เป็นครั้งแรกของการเรียนในรายวิชานี้อาจารย์เริ่มด้วยการแนะนำรายวิชาและบอกถึงข้อตกลงต่างๆ
2.เข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน

เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

 ( Early Childhood with special needs )
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”

หมายถึง   เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ 
จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ
การบำบัด และฟื้นฟู
จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ
และความต้องการของเด็กแต่ละบุคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
 2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ 
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
-แอลกอฮอล์
-Fetal alcohol syndrome, FAS
-นิโคติน
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
รวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ






เรามาเริ่มเรียนบทที่หนึ่งกันนะ






การนำไปประยุกต์ใช้
- ใช้ความรู้เหล่านี้ในการสังเกตเด็ก เพื่อทำให้รู้ว่าเราควรจะสอนและเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างไร


ผลการประเมิน



การประเมินตนเอง

- เข้าเรียนตรงเวลา
- มีความสุขและตั้งใจเรียน

การประเมินเพื่อน
- เพื่อนตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม


การประเมินอาจารย์
- เข้าสอนตรงเวลา
- การสอนของอาจารย์น่าสนใจเพราะมีตัวอย่างประกอบและอาจารย์ยังอธิบายได้เข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก