123

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 5





บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วัน พุธ  ที่ 8  เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2560 เวลาเรียน 08:30 - 12:30น.





ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)
เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 
สาเหตุของ LD
ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
กรรมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ 

3. ด้านการคิดคำนวณ 
(Mathematic Disorder)
ตัวเลขผิดลำดับ
ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้ 

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน

7. ออทิสติก (Autistic)
หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต 

"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"


ลักษณะของเด็กออทิสติก
อยู่ในโลกของตนเอง
ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
ไม่ยอมพูด
เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ 

พฤติกรมการทำซ้ำ
นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

ออทิสติกเทียม
ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
ดูการ์ตูนในทีวี 

Autistic Savant
กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)  


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก


การนำไปประยุกต์ใช้
- สอนเด็กด้วยความเข้าใจ


ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน


การประเมินเพื่อน
- เพื่อนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างในห้องเรียน


การประเมินอาจารย์

- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
- อาจารย์ตั้งใจสอนมากและการสอนของอาจารย์มีการนำตัวอย่างต่างๆมาสอนประกอบไปด้วยทำให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพ เคลื่อนไหว ดอกไม้ ดุ๊ ก ดิ๊ ก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น